วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลัว และ กล้า

คำสองคำที่เขียนคล้ายกัน และมีความหมายตรงข้ามกันในตัวของมันเอง

     “กลัว เป็น คำที่ บ่งบอก สภาพหรือความรู้สึกในแง่ที่เป็นลบต่อสิ่งนั้น
     “กล้า นั้น บ่งบอกในแง่บวกต่อสิ่งนั้น

     บทความนี้ เป็นแง่มุมที่ผู้เขียน มีความคิดส่วนหนึ่งที่แว่บขึ้นมาสมัยยังเป็นหนุ่มๆ
     สมัยนั้น ผู้เขียนได้เล่าให้พี่บางคนทราบเกี่ยวกับ คำสองคำนี้ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นในเครือข่ายและเป็นแรงใจหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน ผู้เขียนมองว่าเป็นแง่คิดที่ดี จึงนำมาเรียบเรียงที่นี่..

     คำว่า กลัว และ กล้า มี ตัวอักษร สองตัวที่เหมือนกัน ได้แก่

     อักษร ก.ไก่ ผู้เขียนเปรียบเป็น "กร" หรือแปลว่า "มือ" จะใช้ว่า "กระทำ" ก็ได้  คนเรามีมือมีเท้าเหมือนกัน  หรือแม้กระทั่งคนพิการที่ไม่มีมือเท้า  ก็มี "กร กระทำ" ได้เช่นกัน แต่ทุกคนไม่ว่าจะทำอะไร  ล้วนต้อง ลงมือทำ

     อักษรต่อไป คือ ล.ลิง ในความหมายของผู้เขียน มันคือประสบการณ์ที่แต่ละคนผ่านมา อยู่ภายในตัวตนของเค้า ซึ่งอยู่ตรงกลางของคำ ว่า กลัว และ กล้า เพียงแต่ทั้งสองคำ เป็น ลิงที่ต่างกัน
          ล.ลิง ของกลัว  มาจากสภาพๆ หนึ่ง คือ ล้ม หรือบางครั้งบางเวลาอาจเป็น ละ หรือ เลิก
          ล.ลิง ของกล้า  มาจากอีกสภาพ คือ ลุก” "ลุย"
     หลายคนต่าง ล้ม และ ลุก ผ่านประสบการณ์ต่างๆ กันมาไม่เหมือนกัน คงเข้าใจสภาพนี้ดี

     ถัดมาเป็น สระ คือ สระอัว อัว ของ กลัว ผมขอแยกเป็น ไม้หันอากาศ แล้วกัน เพื่อใช้ในการเทียบเคียงกับวรรณยุกต์โท ของ กล้า มันเปรียบได้กับส่วนของหัว หรือสมองนั่นเอง
          ไม้หันอากาศ หัวของมัน หรือสมอง มีสภาพ นอน ไม่ทำงาน หลับหรือ ไม่ใช้ความคิด
          ไม้โท เห็นหัวของมันไหม? มันตั้งอยู่น่ะ ยืน ทำงาน หรือ ใช้ความคิด นั่นเอง

     สุดท้าย เป็นส่วนที่สำคัญไม่น้อย ซึ่งมันอยู่หลังสุด หลบอยู่ภายใน คือ ส่วนหนึ่งของสระอัว ที่ผมแยกออกมา กลายเป็น ของ กลัว  และ สระอา ของ กล้า   
     ทั้งสองอักขระ เขียนต่างกันตรงที่ม้วนหัวสระอาให้กลมจนกลายเป็น ว.แหวน นั่นเอง ในความคิดของผม ก็คือส่วนของจิตใจ
          จิตใจที่ปกปิดจนม้วนกลม กลายเป็น วนเวียนอยู่ภายในกับสิ่งที่ร้าย ที่เศร้าหมอง        หรือจะบอกว่าปิดกั้นสิ่งต่างๆ ที่ดี  จนทำให้เกิดเป็น ความกลัว ขึ้นมานั่นเอง
          ส่วน   ก็เปรียบกับจิตใจที่เปิดเผย ยอมรับสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือร้ายเพียงใด  เมื่อ มี มาปิดท้ายหรืออยู่ภายใน ความกล้า จึงเกิดขึ้น


     ก่อนจบนี้ ผมอยากบอกว่า ทั้ง กลัว และ กล้า ล้วนมีคุณค่าหรือประโยชน์ อยู่ที่เราจะใช้มันอย่างไร เพราะมันก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง



จงกลัวในการทำชั่ว และ จงกล้าในการทำดี




นี่ คือ คำ ที่เรียงร้อยจากความคิดปรุงแต่ง                วรรณพุทธ์  เพียง คำ คำหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น