“เฮ้อ..ทำไมหญ้ามันขึ้นรกอย่างนี้...เอาออกหน่อยดีกว่า” จะถอนหรือจะตัดหญ้าดี?
หากคุณ
เลือกวิธีการตัดต้นหญ้า.. ต้นหญ้านั้นจะสั้นเตียนลง เนื่องจากใบและลำต้นถูกตัดออกไป
แต่ “รากหญ้า” ยังฝังลึกอยู่ในดิน
หากคุณเลือกวิธีถอน.. ไม่มีต้นหญ้าเหลืออีกรวมทั้งรากด้วย
ถึงแม้ว่าบางครั้งจะยังมีรากที่ขาดและติดอยู่ในดินบ้าง
แต่ต้นหญ้าต้นนั้นจะไม่งอกขึ้นมาอีก
เว้นแต่เมล็ดของมันที่ยังฝังตัวอยู่ใต้ดิน รอวันงอกงามอีกครั้ง..”ต้นหญ้าที่งดงาม”
ไม่ใช่นักพฤกษศาสตร์ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ใบหญ้า เพียงแต่สังเกตและมองดูมันเท่านั้น
ต้นหญ้าที่ถูกตัดจนเตียน
แม้จะเหลือลำต้นอยู่น้อยนิดแต่ก็ยังติดอยู่กับรากของมัน “รากหญ้า” ยังสามารถหาอาหารมาหล่อเลี้ยงให้ต้นหญ้าเติบโตและออกดอกสวยงามได้อีกครั้ง
ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
“รากหญ้า” ในความหมาย ก็คือ “ราก + หญ้า” คำว่า “ราก” แปลว่า ส่วนของต้นไม้
ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, และยังหมายถึง อาเจียน, อ้วก,
สํารอกออกทางปาก ส่วน “หญ้า” หมายถึง ชื่อเรียกพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง
หญ้าบางชนิดลำต้นผอมยาว
แต่มีรากเล็ก ๆ แผ่กว้างกินบริเวณมากกว่าขนาดของลำต้นหลายเท่านัก หญ้าบางชนิดมีรากที่หยั่งลึกเป็นเมตร หรือมากถึง 3 เมตรทีเดียว
ส่วนหญ้าแฝก มีรากแผ่กว้างเพียง 50 ซม.รอบกอ มีรากลึกในแนวดิ่ง จึงไม่มีผลต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง
ทั้งหมดที่อธิบายลักษณะของราก คือทำหน้าที่
คือ หาอาหารหล่อเลี้ยงลำต้นให้อยู่รอด ให้เติบโต ให้ออกดอก แพร่ขยายสายพันธุ์ต่อไป
“รากหญ้า” ยังมีความหมายเชิงเปรียบเทียบอีกอย่างคือ คนในชนบท, เกษตรกร
หากคิดว่า
หญ้าขึ้นรก ดูไม่งามตา ลองพิจารณาให้ดีก่อน อย่าคิดทำลายหรือตัดแยกออกไป หรือ “ถอนรากถอนโคน” แม้ว่าต้นหญ้าบางต้นจะใกล้ตาย หรือดูเหมือนจะตาย
แต่ก็ยังมีรากอยู่ อีกทั้ง “รากหญ้า”
นั้น หลายแห่งได้หยั่งลึกลงสู่ผืนแผ่นดินนี้ ทุกแห่งได้คลุมดินและให้ผืนดินยังคงรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้
ให้แผ่นดินยังประโยชน์ต่อต้นหญ้าด้วยกันเองและพืชชนิดอื่นๆ ต่อไปยังสัตว์ด้วย
ทุก ๆ
ส่วนของต้นหญ้าล้วนทำหน้าที่ของมัน ไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้น ใบ ดอก
ตามเหตุตามปัจจัยของมันเอง ทุกส่วนล้วนมีความสำคัญ ทุกส่วนที่เรามองแยกออกจากกัน
ทุกส่วนล้วนต้องอิงอาศัยกัน เมื่อรวมกัน เราเรียกมันว่า “ต้นหญ้า” ไม่มีราก ไม่มีต้น ไม่มีใบ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกับ ประเทศและก็โลกใบนี้
อย่ามองว่าสิ่งนี้ เป็นเพียง "รากหญ้า"
นี่ คือ “คำ” ที่เรียงร้อยจากความคิดปรุงแต่ง วรรณพุทธ์ เพียง “คำ” คำหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น