วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

บัญญัติ

     ได้มีการบัญญัติข้อบังคับของพรรคขึ้นมาใหม่โดยนายบัญญัติเป็นผู้ลงนาม รายงานจากสำนักข่าวคราวก่อนโน้น!!!!!
     ในบทความครั้งนี้ ตั้งใจให้สืบต่อจากบทความ อภิสิทธิ์ และเกี่ยวเนื่องกับบทความ ทักษิณ โดยจะชี้ให้เห็นถึง บัญญัติ

     “บัญญัติ แปลว่า การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, ข้อบังคับ  แล้วเราตั้งอะไรขึ้นมา? เราไปบังคับอะไร?

     คำในภาษาไทย มีหลายคำ ที่ คำพูดหรือคำศัพท์ เดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน ทั้งที่ต่างกันเล็กน้อยจนถึงแตกต่างกันมาก หรืออาจจะมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน พอเทียบเคียงกันได้ก็มี เช่น คำว่า เขา ตัวอย่างคือ เขาขี่วัวที่มีเขายาวขึ้นเขาไปจับนกเขา จะเห็นว่า เขา นี้มีหลายความหมาย และหลายคนคงเข้าใจความหมายของ เขา ในประโยคได้เป็นอย่างดี

     “คำ ทุกคำ เป็นเพียง สิ่งที่คนเรา บัญญัติ หรือ ตั้งขึ้น หรือ กำหนด เพื่อใช้ในการสื่อสารสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ในโลกใบนี้และยอมรับตกลงกันเอง โดยระบุว่า สิ่งนี้ ใช้คำนี้ สิ่งนั้นใช้คำนั้น ใช้แทนภาพรวมขององค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง 
          ซึ่งเมื่อเราแยกองค์ประกอบออกจากกันแล้ว คำ ที่ใช้แทนสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ คำ นั้นอีก
          หรือ สิ่งนั้น ก็ไม่ใช่ สิ่งนั้น อีกแล้ว
          เป็น สิ่งอื่น เป็น คำอื่น ไป
     คนเราเพียงแต่ สมมติบัญญัติ ตั้งขึ้นมาทั้งสิ้น หาใช่ความจริงไม่ คำ เพียง คำเดียว อาจสื่อถึงความรู้สึกได้หลายหลายตามแต่ ความคิดปรุงแต่งขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น นิยามคำว่า ความรัก เป็นอย่างไร
     
     เราอาจสื่อว่า สภาพนั่นแหละ หรือ สิ่งนั้นแหละ คือ ความรัก หรือใช้คำว่า ความรัก แต่มันเป็นยังไง อธิบายได้หรือไม่ 
     เพราะมันเป็น ความรู้สึก มันเป็น นามธรรม ที่คนเราเองสมมติลงบนความจริง
          โดย บัญญัติ นั้นไม่มีผลต่อสิ่งนั้นเลย ไม่สามารถบังคับมันได้เลย เว้นแต่เราจะจับจะยึดมันไว้ว่า บัญญัติ นั้นคือ สิ่งนั้น คือ สภาวะนั้น ถือว่าถูกต้อง ซึ่งมันถูกต้องตามความเป็นจริง จริงหรือไม่?
     
      สุดท้ายนี้ จะย้ำอีกครั้งว่า ทุก ๆ คำ ที่เขียน(พิมพ์) เป็นบทความ เป็น คำ ที่เรียงร้อยจากความคิดปรุงแต่ง ซึ่งใช้ "สมมติ" หรือ บัญญัติ สิ่งนั้น ๆ หรือ สภาวะนั้น ๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร มีเจตนาในเชิงการแปลความหมายและเปรียบเทียบความหมายเพื่อกระตุ้น, กระตุกความคิดและเตือนทุกคนที่อ่าน รวมทั้งตนเองซึ่งจะเป็นคนแรกที่อ่าน เพื่อคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของการใช้ คำ



บัญญัติแห่งอัตตา คือ มโนภาพของตัวตนที่เป็นคราบติดมาตั้งแต่ครั้งยึดติดในตัวตน
 และเป็นภาพแห่งความหลงผิด



นี่ คือ คำ ที่เรียงร้อยจากความคิดปรุงแต่ง                  วรรณพุทธ์  เพียง คำ คำหนึ่ง


ปล. เนื้อหาบางส่วน หยิบยกมาจากหนังสือ พุทธธรรม ที่เขียนโดย ป.อ. ปยุตฺโต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น