“มึงนี่ เลวจริง ๆ ”
อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร?
ดูเหมือนจะเป็นคำหยาบที่ใช้ตำหนิ (ด่าว่า)
อีกคนหนึ่งว่าเป็นคนไม่ดี หรือ “คนเลว”
ใช่ไหม?
คนเลวเป็นยังไง? หรือว่า คนพูดเองก็เป็นคนเลว
อย่าหงุดหงิดไป...
เพียง หยิบคำ ขึ้นมาให้ดูหนักเท่านั้น...
ในภาษาไทยเรา มี “คำ”
ที่สามารถระบุชัดได้ว่า สิ่งที่กระทำใดบ้าง ไม่ดี ไม่เหมาะสม หรือ ชั่ว หรือ เลว
เพียงเราเอาคำที่แสดงสภาพเข้าไปใส่ร่วมก็ปรากฏภาพที่ชัดเจน เช่น “คนเลว” “ตำรวจชั่ว”
สิ่งที่กระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จารีต ประเพณี ศีลธรรม
ศาสนา หรือ ไม่ตรงตามใจเขาต้องการ
เป็นที่แน่ชัดว่า
หลายคนเคยทำสิ่งที่ไม่ดี หรือ ไม่ถูกต้องกันมามากน้อยต่างกัน สิ่งเหล่านี้ ขอเรียกว่า “สิ่งที่ไม่ควร” เพื่อให้รู้สึกเบา ๆ ถึงแม้ว่าสิ่งไม่ดีบางอย่าง หลายคนมองว่า “โคตรสารเลว” ก็ตาม...
แต่นั่นเองเป็นคำถามที่เกิดขึ้นมาว่า อะไรบ้างเป็นสิ่งที่ไม่ควร? ซึ่งเมื่อคนที่ได้ทำสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะกลายเป็น “คนเลว”
ปัจจุบัน หลักใหญ่ที่คนเราใช้ตัดสินว่า คนที่ได้ทำสิ่งที่ไม่ควร เป็น "คนเลว" คือ “กฎหมาย”
แต่ในอดีตหากมองย้อนกลับไปตามหน้าประวัติศาสตร์ หลักใหญ่ที่ตัดสิน
อาจเป็น “จารีตหรือขนบธรรมเนียม”
แต่สิ่งที่คนเราอาจมองข้ามไปมากและเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน คือ "ธรรมะ" ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินได้ถูกต้องเหมาะสมหากต้องการจะแยกว่า สิ่งที่ทำนี้ ควรหรือไม่ควร
ดีหรือเลว
"กฎหมาย" หากพิจารณาจะพบว่า
เป็นสิ่งที่คนเราที่มีตัณหาและทิฐิทั้งหลาย(มากน้อย) เป็นผู้เขียนหรือร่างขึ้น
อีกทั้งการร่างกฎหมายแปรผันตามปัจจัยแวดล้อม ณ ช่วงเวลาที่ร่าง
และเราเองก็ไม่อาจทราบได้ว่าผู้เขียนกฎหมายเป็น “คนเลว” มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเพียงอย่างเดียวจึงไม่อาจตัดสินได้
"จารีต" "ประเพณี" "ขนบธรรมเนียม" ก็เช่นเดียวกันกับ กฎหมาย หากแต่มีส่วนเพิ่มเติม คือ จารีตฯ ส่วนใหญ่เกิดจาก
คติธรรม, ความเชื่อ, ความเห็นของผู้ปกครองหรือสังคม ที่เห็นว่า
ดีหรือเหมาะสมในยุคสมัยนั้นหยิบยกเอามาใช้ เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งบางอย่าง
อาจไม่ได้ ดีหรือเลว ในตัวของมันเอง แต่หากใครทำสิ่งนั้นไปอาจกลายเป็น “คนเลว” ได้
ทั้งกฎหมาย
และ จารีตฯ นั้นไม่ขอยกตัวอย่าง แต่ขอให้ลองพิจารณาเอง ส่วนสุดท้าย คือ "ธรรมะ" ซึ่ง มีความคิดเห็นว่า เหมาะสมและถูกต้อง แล้วเราใช้ธรรมะตัดสินได้อย่างไรว่า
สิ่งไหนดีหรือเลว...
คำตอบ
อยู่ในใจ สิ่งใดก็ตามที่ทำแล้ว
จิตใจของคนที่ทำรู้สึก ว่า หงุดหงิด ร้อนลน ไม่พอใจ กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน
มึนงง สับสน พยาบาท มัวเมา หดหู่ ท้อถอย สงสัย อยากกระหาย ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ "กิเลส" ชักนำทั้งสิ้น
และสิ่งเหล่านี้นั่นเอง ที่เรียกว่า “สิ่งที่ไม่ควร” หากลงมือทำหรือจุดไฟแล้วอาจลุกลามจนกลายเป็น “คนเลว” อย่างที่คนอื่นเขาเรียกได้
ไม่มีคนเลวในโลกนี้ มีเพียงความเลวในใจคนเท่านั้น
นี่ คือ “คำ” ที่เรียงร้อยจากความคิดปรุงแต่ง วรรณพุทธ์ เพียง “คำ” คำหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น